ท่อ chiller คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร มีคำตอบ

0 Comments
chiller

ท่อ chiller คือ ระบบทำความเย็นที่มีขนาดใหญ่ มีหน้าที่ผลิตน้ำเย็นหรือปรับอุณหภูมิน้ำเย็น จากนั้นส่งไปยังเครื่องปรับอากาศที่กระจายอยู่ตามห้องต่างๆ ของอาคาร ทุกคนรู้ไหมว่า ท่อ ชิลเลอร์ มีหลักการทํางานอย่างไรบ้าง เพื่อไขข้อข้องใจและเพื่อให้ทุกคนได้รู้จักกับหลักการทำงานเบื้องต้น เราจึงหยิบยกเรื่องหลักการทำงานของท่อ chiller  มาอธิบายให้ฟังเป็นความรู้ขั้นพื้นฐาน  

ท่อ chiller มีหลักการทํางานอย่างไร

หลักการทำงานของท่อ chiller คือ การนำเอาสารทำความเย็นหรือก๊าซเย็นความดันต่ำซึ่งอยู่ในสถานะไออิ่มตัว อัดตัวอยู่ที่คอมเพรสเซอร์ จากนั้นสารทำความเย็นจะถูกอัด โดยเครื่องอัด จนมีสถานะเป็นไอร้อน มีความดันสูงและอุณหภูมิสูงด้วยจากนั้นสารทำความเย็นจะเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเครื่องควบแน่น เพื่อถ่ายเทความร้อนออก สารทำความเย็นจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวอิ่มตัว ซึ่งมีความดันสูง จากนั้นของเหลวอิ่มตัวที่มีความดันสูงนี้จะเคลื่อนที่ผ่านไปยังอุปกรณ์ขยายตัวหรืออุปกรณ์ลดแรงดัน โดยสารทำความเย็นมี 2 สถานะคือของเหลวและก๊าซที่มีอุณหภูมิต่ำและความดันต่ำ จากนั้นก็จะส่งผ่านเข้าไปในเครื่องระเหยทำให้สารทำความเย็นได้รับความร้อนจากการโหลดและกลายสภาพเป็นไอ้อิ่มตัว ซึ่งวัฏจักรการทำความเย็นจะดำเนินเช่นนี้ไปเรื่อยๆ หมุนเวียนเป็นวงจรแบบนี้ตลอดเวลา จึงทำให้ chiller สามารถผลิตน้ำเย็นได้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง

ระบบส่งน้ำเย็นที่อาศัยท่อน้ำเย็นมีทั้งท่อส่งน้ำเย็น (Supply Chilled Water Pipe) และท่อน้ำเย็นกลับ (Return Chilled Water Pipe) จะต้องหุ้มฉนวนป้องกันน้ำเกาะท่อ เนื่องจากความเย็นของท่อจะทำให้ความชื้นที่อยู่ในอากาศมาเกาะเป็นหยดน้ำที่ท่อ

Water Cooled Water Chiller หากเป็นโครงการขนาดใหญ่และต้องการความเย็นมากมักจะนิยมใช้เครื่องทำน้ำเย็นชนิดนี้เพราะจะมีเครื่องทำน้ำเย็นที่มีประสิทธิภาพสูงให้เลือกใช้   (0.62 – 0.75 กิโลวัตต์/ตัน) ทำให้ระบบปรับอากาศกินไฟน้อยกว่าเครื่องในรูปแบบอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ระบบนี้ก็จะต้องมีหอระบายความร้อนด้วยและจะต้องมั่นใจด้วยว่ามีน้ำในปริมาณที่เพียงพอมีคุณภาพและเหมาะสมกับการนำมาเติมที่หอระบายความร้อน

ทุกคนรู้หรือไม่ว่า ในอดีตมักจะใช้ท่อเหล็กในระบบท่อ chiller  แต่เมื่อใช้งานไปนานๆ อาจทำให้เกิดปัญหาท้องพุกร่อนและเป็นสนิมเกิด ปัญหารั่วในที่สุด ทำให้อายุการใช้งานสั้น ปัจจุบันจึงมีการนำเอา PRP เข้ามาใช้ทดแทนท่อเหล็ก เนื่องจากสามารถทนแรงดันได้ดีและรองรับอุณหภูมิความร้อนได้ดีเยี่ยม อีกทั้งยังมีราคาถูกและไม่เป็นสนิมด้วยที่สำคัญเลยคือมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่านั่นเอง